ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ข่าวสารการอบรม ฟรี!
dot
bulletสมัครรับข่าวการอบรมฟรี!
dot
แบ่งปันความรู้
dot
bulletบทความทางธุรกิจ
bulletกรณีศึกษาทางธุรกิจ
dot
อบรม รับมือ AEC
dot
bulletการสื่อสารภาษาอังกฤษทางโทรศัพท์อย่างมืออาชีพ
bulletการเขียนอีเมล์ในยุค AEC
dot
อบรม การบริหาร การจัดการ
dot
bulletการบริหารงาน การบริหารคน
bulletจิตวิทยาการประสานงาน-บริหารคน
bulletการสอนงานอย่างมีประสิทธิผล
bulletการจัดการกระบวนการแนวใหม่
bulletความคิดสร้างสรรค์สำหรับการบริหารงาน
dot
อบรม การพัฒนาบุคลากร
dot
bulletการคิดนอกกรอบ ความคิดสร้างสรรค์
bulletการคิดอย่างเป็นระบบ และ การตัดสินใจ
bulletพัฒนาบุคลิกภาพและการสื่อสารในการทำงาน
bulletการบริหาร EQ
bulletเทคนิคการแก้ปัญหา
dot
อบรม การขาย การบริการ
dot
bulletเทคนิคการขายขั้นสูง
bulletกลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
bulletบริการและสื่อสารให้ประทับใจลูกค้า
bulletกลยุทธ์ขั้นสูงเพื่อการเจรจาต่อรอง
dot
สมาชิก
dot
bulletสมัครสมาชิก
bulletสิทธิประโยชน์สมาชิก
bulletหัวข้ออบรม-สัมมนาที่ต้องการให้เราจัด
bulletโหวตวันที่คุณสะดวกอบรม
dot
เกี่ยวกับเรา
dot
bulletร่วมงานกับเรา
bulletแนะนำวิทยากรกับเรา
bulletติดต่อเรา




กลยุทธ์กาแฟสีเขียว

กลยุทธ์ของสตาร์บัคส์เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง และเป็นที่กล่าวถึงว่าเป็นกรณีศึกษาที่ทุกๆแบรนด์ต้องไม่มองข้าม

สังเกตได้ว่า สตาร์บัคส์ไม่มีการโฆษณาออกทางสื่อโทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ใดๆเลย
แต่กลับสามารถเป็นที่รู้จักจากการบอกต่อ จากประสบการณ์ และสามารถติดอันดับ 5 จากแบรนด์ต่างๆทั่วโลก
ที่มี impact ต่อวิถีชีวิตสำหรับคนทั่วไปในปี 2006(ผลวิจัยของเว็บไซต์ brandchannel)
และสำหรับในประเทศไทย ยังสามารถขยายสาขาครบ 100 สาขาในปีที่ 9 นี้ด้วย
คิดดู สตาร์บัคส์ทำให้คนยอมที่จะซื้อกาแฟแก้วร่วมร้อยบาทได้อย่างไร..

การกำเนิดแต่ละร้านของสตาร์บัคส์อยู่บนแนวคิดที่ว่าต้องการให้เป็นเหมือนแหล่งพำนักที่สาม (Third Place)
สำหรับทุกๆคนในชุมชนที่อยู่ใกล้นั้น โดยการทำให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจของลูกค้าโดยที่ไม่ต้องใช้การโฆษณา
โดยสิ้นเปลืองเพราะสตาร์บัคส์มองว่าการโฆษณา หรือการโปรโมชั่นแบบฉาบฉวยไม่สามารถทำให้ลูกค้าเกิด
ความประทับใจได ทั้งหมดก็จะจบลงในเวลาอันสั้น การทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และผูกพันกับแบรนด์
เป็นสิ่งที่ยั่งยืนกว่า ซึ่งปัจจุบันแนวคิดนี้เป็นต้นแบบให้กับร้านกาแฟอื่นๆ ที่ปรับให้เกิดความคล้ายคลึงกับสตาร์บัคส์

ซึ่งกลยุทธ์ที่สตาร์บัคส์ใช้ก็คือ กลยุทธ์แบบ Triple C ประกอบด้วย
CRM - การจัดการความสัมพันกับลูกค้า เห็นได้ชัดเจนกับการฝึกอบรบบาริสต้าให้สามารถบริการลูกค้า
ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง มีความเป็นกันเอง และเป็นห่วงเป็นใยลูกค้าอย่างเสมอภาค
CEM - การจัดการกับประสบการณ์ของลูกค้า ให้เกิดความประทับใจ จากการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นการได้รับกลิ่นหอมจากกาแฟในร้าน ความรู้สึกสบายกายจากที่โซฟาหนังอย่างดี ความรู้สึกสบายใจ
จากการผ่อนคลายโดยไม่ต้องรู้สึกกังวลใจไม่ว่าจะนั่งนานแค่ไหน การได้มองเห็นเครื่องประดับตกแต่งร้านที่สวยงาม
CSR - สิ่งตอบแทนจากองค์กรสู่สังคม สตาร์บัคส์ได้ชื่อว่าเป็นผู้มอบสิ่งดีๆแก่ชาวไร่กาแฟอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
ไม่น่าแปลกใจเลยเพราะสตาร์บัคส์สามารถนำงบแทนจะไปเสียกับการโฆษณาแบบฉาบฉวยมาคืนกำไรสู่สังคม
นอกจากทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีแล้ว ยังรักษาลูกค้าเก่า และขยายฐานลูกค้าใหม่ได้แบบยั่งยืนอีกด้วย

ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดชื่อเสียงในเชิงบวก เกิดการบอกต่อกันแบบปากต่อปาก ผลที่ได้คือลูกค้าเกิดความซื่อสัตย์ต่อแบรนด์
และเต็มใจที่จะจ่ายค่ากาแฟที่แพงกว่าร้านอื่น เพื่อแลกกับประสบการณ์ดีๆที่สตาร์บัคส์สร้างขึ้น

 
http://rihitochan.spaces.live.com/blog/cns!CC2B7C1DAE01CF2B!660.entry

 




กรณีศึกษาทางธุรกิจ

CSR & HR หน้าร้านถึงก้นครัว 'ไทยเบฟ'
รุ่นสาม 'ซีคอน กรุ๊ป' คิดใหม่ทำใหม่
Guerrilla Marketing: กรณีศึกษา “เถ้าแก่น้อย”
Brand Audit: กรณีศึกษาบริษัท AIS
"ธรรมะ" ฝ่าวิกฤตอังกฤษตรางู
ความสำเร็จของ Dell
“โตโยต้า” พลาดท่า เพราะ การจัดการ



Copyright © 2009-2024 All Rights Reserved.
อบรมธุรกิจ อบรมการบริหาร อบรมกลยุทธ์ อบรมแผนการตลาด อบรมด้านบริการ อบรมเทคนิค โดยศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางธุรกิจ